รศ. ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์รศ. ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์

รศ. ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์  หรือ อาจารย์นก กรรมการบริหารบริษัทรอยัล สวัสดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ให้ข้อคิดเห็นในการมาร่วมงานรอยัล สวัสดี ไว้ดังนี้:

 
Q: อาจารย์นกช่วยเล่าด้วยค่ะว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่
A: ตอนนี้ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและของ UNEP สหประชาชาติ ซึ่งให้คำแนะนำและออกแบบด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในเขตประเทศอาเซียนและเอเชีย  ปัจจุบันผมสอนที่คณะสถาปัตย์จุฬาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 

 

 
Q: ทำไมอาจารย์นกถึงมาช่วยคุณเปี๊ยกทำรอยัลสวัสดีคะ ?
A: ผมรู้จักกับพี่เปี๊ยกครั้งแรกในการอบรมหลักสูตรความมั่นคงขั้นสูง และมีแนวความคิดที่ตรงกันเพื่อจะช่วยประเทศชาติในระดับผู้ประกอบการและระดับรากหญ้า โดยเฉพาะพี่เปี๊ยกมีฐานผู้ประกอบการของเอสเอ็มอีทั้งประเทศ  จึงสามารถต่อยอดให้เกิดธุรกิจและพัฒนาด้านการตลาดได้อย่างทันที  การร่วมในบริษัทรอยัล สวัสดีจึงเป็นแนวทางที่สามารถช่วยประชาชนในประเทศไทยให้มีการพัฒนาระบบการผลิตรูปแบบผลิตภัณฑ์การบริหารจัดการที่มีลักษณะเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง 

 


Q: แล้วอาจารย์มีวิชั่นยังไงคะ อยากจะทำให้รอยัล สวัสดีเป็นยังไงต่อไปในอนาคตคะ ?
A: บริษัทรอยัล สวัสดีจะเป็นผู้ที่คัดเลือกสินค้าที่ดีที่สุดของประเทศไทยนำไปสู่ผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศเป็นขั้นตอนแรก จากนั้นเราจะช่วยพัฒนาประชาชนที่ต้องการทำธุรกิจของตัวเองในทั้งสามกลุ่มสินค้าได้แก่สินค้าด้านอาหาร สินค้าด้านสุขภาพและความงาม สินค้าด้านเครื่องประดับตกแต่ง  โดยนำประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบและทางด้านการตลาดมาช่วยเสริมให้กับผู้ประกอบการเหล่านั้น   เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้กับตลาดโลกในที่สุด


Q: ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์สิ่งแวดล้อม อาจารย์คิดว่าได้นำองค์ความรู้ที่ตัวเองมีอยู่มาใช้กับบริษัทนี้ยังไงหรือเปล่าคะ ?
A: ผมได้นำประสบการณ์ทั้งหมดประมาณ 30 ปีจากการบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ การบริหารการออกแบบ การออกแบบในลักษณะผสมผสานกับสิ่งแวดล้อมวิศวกรรม สถาปัตยกรรมและศิลปะต่างๆ มาช่วยในการพัฒนาสินค้าพัฒนากระบวนการผลิต พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการให้กับกลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ   โดยเฉพาะการสร้างอัตลักษณ์ที่มีความพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างจากสินค้าในกลุ่มเดียวกัน  นอกจากนี้ยังใช้ทักษะการทำวิจัยที่มีขั้นตอนเป็นระบบระเบียบสามารถพิสูจน์ได้ นำมาสร้างนวัตกรรมเสริมให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย


   

รศ. ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์  หรือ อาจารย์นก กรรมการบริหารบริษัทรอยัล สวัสดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ให้ข้อคิดเห็นในการมาร่วมงานรอยัล สวัสดี ไว้ดังนี้:
 
Q: อาจารย์นกช่วยเล่าด้วยค่ะว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่
A: ตอนนี้ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและของ UNEP สหประชาชาติ ซึ่งให้คำแนะนำและออกแบบด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในเขตประเทศอาเซียนและเอเชีย  ปัจจุบันผมสอนที่คณะสถาปัตย์จุฬาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 
 
Q: ทำไมอาจารย์นกถึงมาช่วยคุณเปี๊ยกทำรอยัลสวัสดีคะ ?
A: ผมรู้จักกับพี่เปี๊ยกครั้งแรกในการอบรมหลักสูตรความมั่นคงขั้นสูง และมีแนวความคิดที่ตรงกันเพื่อจะช่วยประเทศชาติในระดับผู้ประกอบการและระดับรากหญ้า โดยเฉพาะพี่เปี๊ยกมีฐานผู้ประกอบการของเอสเอ็มอีทั้งประเทศ  จึงสามารถต่อยอดให้เกิดธุรกิจและพัฒนาด้านการตลาดได้อย่างทันที  การร่วมในบริษัทรอยัล สวัสดีจึงเป็นแนวทางที่สามารถช่วยประชาชนในประเทศไทยให้มีการพัฒนาระบบการผลิตรูปแบบผลิตภัณฑ์การบริหารจัดการที่มีลักษณะเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง 


Q: แล้วอาจารย์มีวิชั่นยังไงคะ อยากจะทำให้รอยัล สวัสดีเป็นยังไงต่อไปในอนาคตคะ ?
A: บริษัทรอยัล สวัสดีจะเป็นผู้ที่คัดเลือกสินค้าที่ดีที่สุดของประเทศไทยนำไปสู่ผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศเป็นขั้นตอนแรก จากนั้นเราจะช่วยพัฒนาประชาชนที่ต้องการทำธุรกิจของตัวเองในทั้งสามกลุ่มสินค้าได้แก่สินค้าด้านอาหาร สินค้าด้านสุขภาพและความงาม สินค้าด้านเครื่องประดับตกแต่ง  โดยนำประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบและทางด้านการตลาดมาช่วยเสริมให้กับผู้ประกอบการเหล่านั้น   เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้กับตลาดโลกในที่สุด


Q: ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์สิ่งแวดล้อม อาจารย์คิดว่าได้นำองค์ความรู้ที่ตัวเองมีอยู่มาใช้กับบริษัทนี้ยังไงหรือเปล่าคะ ?
A: ผมได้นำประสบการณ์ทั้งหมดประมาณ 30 ปีจากการบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ การบริหารการออกแบบ การออกแบบในลักษณะผสมผสานกับสิ่งแวดล้อมวิศวกรรม สถาปัตยกรรมและศิลปะต่างๆ มาช่วยในการพัฒนาสินค้าพัฒนากระบวนการผลิต พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการให้กับกลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ   โดยเฉพาะการสร้างอัตลักษณ์ที่มีความพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างจากสินค้าในกลุ่มเดียวกัน  นอกจากนี้ยังใช้ทักษะการทำวิจัยที่มีขั้นตอนเป็นระบบระเบียบสามารถพิสูจน์ได้ นำมาสร้างนวัตกรรมเสริมให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย