ผู้บริหารของเราผู้บริหารของเรา

คุณณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ผู้มีประสบการณ์ยาวนานในฐานะผู้บริหารบริษัทสื่อเพื่อให้ความรู้และสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงแก่ผู้ประกอบการไทย ได้ขยายธุรกิจมาสู่การพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชนท้องถิ่นไทย และผลิตสินค้าในแบรนด์รอยัลสวัสดี เพื่อตอบโจทย์การหาตลาดบนและตลาดต่างประเทศให้กับสินค้า OTOP และสินค้าไทยที่ได้รับการคัดสรรว่าดีที่สุด

ด้วยการต่อยอดจากผลงานการพัฒนาสินค้าชุมชนและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับประเทศและระดับสากลของคุณพีรวงศ์ จาตุรงคกุล หรืออาจารย์โจ้ อุปนายกสมาคมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย และสถาปนิกผู้ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม รศ. ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ หรือ อาจารย์นก ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านเทคโนโลยีอาคาร

และสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทรอยัล สวัสดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด จึงได้ถือกำเนิดขึ้นบนรากฐานที่มั่นคงของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสื่อ

คุณณรินณ์ทิพย์ให้ฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท รอยัล สวัสดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ให้ข้อคิดในการก่อตั้งบริษัทไว้ดังนี้:

Q: ทำไมรอยัลสวัสดีถึงให้ความสำคัญกับงาน design และพัฒนาสินค้าคะ

A: เพราะเรามองเห็นว่าสินค้าที่มี value added ได้ ต้องมีงาน design มี identity มีความแตกต่าง นี่เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องหยิบออกมา แล้วก็มาออกแบบ แล้วสร้างมันขึ้นมา ให้สินค้ามี value มากขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีคนที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบ แบบ อ.โจ้ ซึ่งเค้ามี profile ออกแบบมาเป็นรางวัลมากมาย เราจึงให้ service ในด้านนี้

ถ้าถามว่าเราให้บริการด้านดีไซน์กับใครบ้าง ก็ตอบว่าเราให้กับ SME ให้กับ OTOP ให้กับใครก็ตามที่มีความคิดว่าอยากจะยกระดับ เพิ่มมาตรฐานให้กับสินค้าของตัวเอง ให้มันสวยงามขึ้น ดีขึ้น เพราะเวลาที่เค้าจะเริ่มทำ design ทุกคนก็ต้องกลับมาถามตัวเอง ต้องขุด identity ออกมาให้ได้ แล้วก็ present ออกมา presentation ถึงได้สำคัญมากในโลกยุคใหม่ ดังนั้นเราจึงคิดว่า service อันแรกของเราคือ งาน design

แต่จริงๆแล้วที่เห็นได้จากงานของอ.โจ้ มันไม่ได้เฉพาะเรื่องงาน design กว่าจะ design ออกมาได้ บางทีต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย เพราะฉะนั้นเราถึงได้บอกว่าผลิตภัณฑ์ของเรา คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ งานมันมีสองลักษณะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ แล้วก็ออกแบบ  เพราะถ้าออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างเดียว มันก็แค่ packaging  แต่ว่าอ.โจ้ ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเยอะมาก ทำเรื่องงานวิจัยเรื่องการพัฒนาสินค้า เพราะฉะนั้น เค้าจะมีองค์ความรู้ มี know how มี resource ที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายผลิตภัณฑ์ เยอะมากในมือของเค้า เพราะงั้น นี่คือ service อันแรกของ รอยัลสวัสดี เพราะเรามีความเชี่ยวชาญ มีความปรารถนาที่จะทำให้สินค้าไทยโดยรวมหน้าตาดี สวยงาม เพราะเราเชื่อว่าสินค้าไทยคุณภาพดีและอร่อยกว่าหลายๆชาติ

สิ่งที่เป็น passion เลยก็คือว่า ทำยังไงให้สินค้าไทยมีคุณค่ามากขึ้น อย่างญี่ปุ่นนี่สวยทุกชิ้น ขนาดซื้อข้างทาง อะไรทุกอย่างสวยทั้งนั้น เค้าพิถีพิถันกับเรื่องการพัฒนาตัวนี้  จริงๆของข้างในไม่เท่าไร แต่เพราะว่า packaging design มันทำให้ดูดี ดูแพง ดูมีคุณค่า เพราะที่สำคัญในการขายในโลกยุคใหม่ คือต้องขายคุณค่า แล้วก็หน้าตาของมันพอสมควร แล้วถ้ามีเรื่องราว ก็ยิ่งดี แต่ละที่มันก็จะมีเรื่องราวของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นเราก็อยากทำให้ รอยัลสวัสดี มันทำหน้าที่นี้ คือทำให้สินค้าไทยมีคุณค่ามากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าพื้นถิ่นของชาวบ้าน
นี่คือความตั้งใจของเรา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในแบรนด์รอยัลสวัสดีหรือไม่ก็ตาม เราก็อยากแปลงโฉมให้ทั้งหมดออกมาเป็นสิ่งที่ high value
Q: รอยัลสวัสดีเปิดตัวด้วยผลิตภัณฑ์ขนมและสปา มีแรงจูงใจยังไง ถึงคิดจะทำผลิตภัณฑ์ในหมวด life style ด้วยคะ
A: มันเป็นความตั้งใจอยู่แล้วที่เรามองเห็นว่า มันไม่ค่อยมีสินค้าที่มีเอกลักษณ์ไทยที่มันโดดเด่น เราจึงมีความตั้งใจตั้งแต่แรกเลยว่า เราอยากจะพัฒนาสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็นขนม ไม่ว่าจะเป็นสปา ไม่ว่าจะเป็นสินค้า life style product หรือของแต่งบ้าน หรืออะไรก็ตาม คือเรามองเห็นคุณค่าของสินค้าเราเอง สินค้าไทย อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เราคิดว่าถ้านำมันมาพัฒนาต่อยอดอีกหน่อย รวมทั้งขาย identity และ design แล้วก็บอกเล่าเรื่องราว 
 

เราคือ PMG ก็อยากจะทำอันนี้ เพราะด้านหนึ่ง เรามองว่าเราก็ช่วยพัฒนา SME และ OTOP อีกด้านหนึ่งก็คือว่า ถ้าอันไหนเป็น best selected ที่เราคิดว่ามันเป็นสินค้าที่ตรงกับ concept ของเรา เราก็จะทำการพัฒนาในแบรนด์ของรอยัลสวัสดี  เพราะฉะนั้น เราถึงแสวงหาว่าใครที่จะสามารถร่วมงานกับ PMG ได้ พอเจอ อ.โจ้ เราก็พบว่า เขามี profile ที่ทำงานแบบนี้ได้ แล้วก็มีความรัก มี passion เห็นได้จากการที่เขาทำมายาวนานเป็นสิบปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพัฒนาสินค้า พัฒนาชุมชน จากอัมพวาธรรมดากลายเป็น อัมพวาที่มันมีเรื่องราว มี story อันนี้คือสิ่งที่เราสนใจ ที่เขามองเห็นถึงคุณค่าตรงนี้ เราก็เลยจะร่วมกัน เพื่อที่จะเอามาพัฒนา ต่อยอดให้เมืองไทยเป็นอย่างนี้อีกเยอะ ไม่ใช่แต่แค่อัมพวา อาจจะเป็นทั่วประเทศไทย
 

Q: PMG ทำงานด้านสื่อมาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ทำไมถึงขยายธุรกิจมาทำ Royal Sawasdee ซึ่งเป็นงานพัฒนาสินค้าและการสร้างแบรนด์สินค้าไทย
Q: PMG พัฒนาความคิดมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว หนึ่งคือ เราทำรายการทีวี เราทำนิตยสาร ทำสื่อ website นั่นเป็นเรื่องขององค์ความรู้ แต่เราเริ่มทำ business matching คือทำให้คนพบกัน เกิดการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยง ในขณะเดียวกัน เราก็ทำโรงเรียน หลังจากที่เราทำสื่อ ทำการให้ความรู้ เราก็พบว่า คนขาด know how เค้าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง เพราะฉะนั้นเราถึงได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ นั่นก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่เรารวบรวมคนเก่งๆ คนที่สอนเก่ง และประสบความสำเร็จแล้วในอาชีพ ไม่ว่าจะ ขายข้าวมันไก่ ขายข้าวหน้าเป็ด ทำกาแฟขาย ทำซาลาเปาขาย เราก็ไปเอาคนเก่งๆมาสร้างหลักสูตร แล้วมาสอนคน เพราะฉะนั้น เราก็พัฒนาความคิดต่อเนื่องมาเรื่อยๆอยู่แล้ว หลังจากนั้น เราก็ทำเรื่อง digital marketing ที่จะเป็นการให้ความรู้ แล้วก็ทำการตลาด เพราะเราพบว่า SME ส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการสื่อสารโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ เพราะฉะนั้นเราจึงคิดว่า digital marketing มันเป็น solution สำหรับ SME และสำหรับหลายๆองค์กร เราก็ทำตัวนี้มา

 

เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในใจ คิดมานานละ ว่าควรจะทำให้มันครบ loop คือเราโตไปกับ SME  เราเรียนรู้ว่า SME แต่ละช่วงมีปัญหาอะไร เมื่อเราเรียนรู้ว่า SME มีปัญหาเรื่องหน้าตา เรื่อง design จากการที่เราสัมผัส เวลาเขามาออกทีวี หรือเวลาเราไปงาน ไปเห็นสินค้าชุมชน สินค้าส่วนใหญ่จะไม่สวยงาม อาจจะมีสวยงามอยู่จำนวนไม่มากที่ go inter ได้ พวกนั้นมีจำนวนน้อยมากเลย ที่ไปถึงตรงนั้นได้ ทีนี้เรามองว่าฐาน mass มีอีกเยอะเลยที่ต้องการการพัฒนา

เพราะฉะนั้น เราถึงมองว่า จริงๆแล้ว เราต้องมองหาผู้เชี่ยวชาญ เพราะเราเองไม่มีบุคลากรภายในที่จะทำตรงนี้ได้ ถึงได้เสาะหาว่าจะมีใคร เพราะฉะนั้นก็มีคนที่แนะนำเราว่า อ.โจ้เค้าเก่ง

สินค้า OTOP จริงๆแล้วทุกชิ้นก็สวยอยู่แล้ว เพียงแต่มันไม่ได้มีการ mix and match แล้วก็อาจจะต้องเอามา presentation ใหม่ เพื่อทำให้คนเห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจน ว่าเวลาที่มันอยู่ในบ้านเรา จะนำมันไปวางยังไงบ้าง บางอันก็อาจจะต้อง design เพิ่ม ซึ่งอันนี้มันเป็น project ต่อไปที่ทางเรากำลังเริ่มที่จะคิดเรื่องนี้ และคิดว่าคงจะร่วมกับทางกรมพัฒนาชุมชนในการนำเสนอเรื่องของ NEO OTOP

Q: ทำไมถึงมาจับสินค้า OTOP คะ

A: ที่เราอยากพัฒนาสินค้า OTOP ก็เพราะอยากช่วยชาวบ้าน พวกเขาไม่มีช่องทางการขาย ยังไม่สามารถขายของที่ high value ได้ ทุกคนจะไปซื้อสินค้า OTOP แล้วเอาไว้ใส่ในวาระพิเศษ เช่น เราอยากช่วย เลยไปซื้อมา แต่เอามาใส่ทุกวันไม่ได้ เพราะว่ามันไม่กลมกลืน มันไม่เป็นตัวเรา มันไม่เข้ากับรสนิยมของเรา เพราะฉะนั้น เราก็เลยคิดว่า การที่เราเป็นนักออกแบบ เรามีความเข้าใจในพฤติกรรมของคนเมือง หรือว่าคนชนชั้นกลาง เราก็เลยคิดว่าแบบไหน อย่างไร ที่เอาเข้ามาแล้ว มันจะทำให้เขาใช้ได้มากขึ้น ใช้ได้บ่อยขึ้น ใช้ได้แบบ daily use มากขึ้น อันนี้คือโจทย์

เป้าหมายคือคนรุ่นใหม่ อันนี้เป็นตลาดใหญ่ที่เรามองอยู่ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า เขาใส่ไม่ได้ เพราะมันเยอะไป ภาษา design สมัยนี้ต้องบอกว่า มันต้องลดรูป ให้มันอย่าเยอะเกินไป เช่นถ้าเป็นเสื้อผ้า ก็ต้องดูว่าทำยังไงให้มันพอดีๆ แล้วดูดี ไม่ดูเชย ไม่ใช่ว่าใส่สินค้า OTOP แล้วแก่เท่ากันหมด แต่เราต้องการให้ทุกคนใส่ ใส่แล้วดูดี ดูเท่ห์ ดูเป็นคนมีรสนิยม เป็นคนมีศิลปะไทย เป็นคนน่ายกย่องนะว่า มีรสนิยม แล้วก็ตระหนักถึงคุณค่าสินค้าไทย แล้วก็สวยด้วย เราต้องการอย่างนั้น นั่นคือเป้าหมายสูงสุดที่เราอยากให้ทุกคนใช้

สินค้าไทย จะเป็น OTOP หรือไม่ก็ได้ เป็นสินค้าที่เป็นพื้นถิ่น เอามาใช้แล้วถูกกับเขา ไม่ใช่เอามาใช้เพราะเป็น flight บังคับ จะแต่งชุดไทยก็ต้องเป็น occasion ไม่สามารถจะใช้ได้ในชีวิตประจำวัน แต่เราอยากให้เรื่องนี้มันใช้ได้เป็น daily use แล้วนี่แหละมันทำให้เป็นทางออกของสินค้าชาวบ้าน

เราอยากมีส่วนร่วมในการลงไปพัฒนา เพราะถ้าสินค้าที่เราได้รับความร่วมมือในการพัฒนา อย่างเช่น ในกรณีของสปา ถ้ามันเป็นข้าว เป็นสินค้าที่มาจากท้องถิ่นไหน เราก็อยากจะลงไปช่วยพัฒนาแล้วยกระดับคุณภาพของการผลิต หรือว่ามาตรฐานงาน design ซึ่งอันนี้เรามองว่าจุดอะไรที่ชาวบ้านขาด เรามองว่าคืองาน design ซึ่งอันนี้ต้องลงไปช่วยกันเยอะๆ เราคนเดียวคงทำไม่ไหว designer ทั้งประเทศควรต้องลงไปจับงานนี้

เราต้องคิดว่าเราต้องลงไปทำงานร่วมกับชุมชน แล้วก็ช่วยกันพัฒนา เราไม่ต้องการกดราคาสินค้าชาวบ้าน ชาวบ้านอาจต้องการขายที่ราคาตลาด แล้วเราเอามาพัฒนาให้มัน high value ขึ้น

ด้านหนึ่งเราต้องหา know how ที่ทำให้เขาผลิตได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาเราบอกว่าสินค้าต้องไปตลาดโลก เวลาเขาสั่งมา ชาวบ้านทำไม่ได้ ทำได้ปีหนึ่งไม่กี่ผืน อย่างนี้ เราอาจต้องไปดูวิถีการผลิต เราเคารพวิถีชีวิตนะ แต่เราก็อาจต้องไปดูว่าจะเพิ่ม productivity ได้อย่างไรด้วย

คุณณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ผู้มีประสบการณ์ยาวนานในฐานะผู้บริหารบริษัทสื่อเพื่อให้ความรู้และสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงแก่ผู้ประกอบการไทย ได้ขยายธุรกิจมาสู่การพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชนท้องถิ่นไทย และผลิตสินค้าในแบรนด์รอยัลสวัสดี เพื่อตอบโจทย์การหาตลาดบนและตลาดต่างประเทศให้กับสินค้า OTOP และสินค้าไทยที่ได้รับการคัดสรรว่าดีที่สุด

ด้วยการต่อยอดจากผลงานการพัฒนาสินค้าชุมชนและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับประเทศและระดับสากลของคุณพีรวงศ์ จาตุรงคกุล หรืออาจารย์โจ้ อุปนายกสมาคมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย และสถาปนิกผู้ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม รศ. ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ หรือ อาจารย์นก ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านเทคโนโลยีอาคาร

และสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทรอยัล สวัสดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด จึงได้ถือกำเนิดขึ้นบนรากฐานที่มั่นคงของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสื่อ

คุณณรินณ์ทิพย์ให้ฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท รอยัล สวัสดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ให้ข้อคิดในการก่อตั้งบริษัทไว้ดังนี้:

Q: ทำไมรอยัลสวัสดีถึงให้ความสำคัญกับงาน design และพัฒนาสินค้าคะ

A: เพราะเรามองเห็นว่าสินค้าที่มี value added ได้ ต้องมีงาน design มี identity มีความแตกต่าง นี่เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องหยิบออกมา แล้วก็มาออกแบบ แล้วสร้างมันขึ้นมา ให้สินค้ามี value มากขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีคนที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบ แบบ อ.โจ้ ซึ่งเค้ามี profile ออกแบบมาเป็นรางวัลมากมาย เราจึงให้ service ในด้านนี้

ถ้าถามว่าเราให้บริการด้านดีไซน์กับใครบ้าง ก็ตอบว่าเราให้กับ SME ให้กับ OTOP ให้กับใครก็ตามที่มีความคิดว่าอยากจะยกระดับ เพิ่มมาตรฐานให้กับสินค้าของตัวเอง ให้มันสวยงามขึ้น ดีขึ้น เพราะเวลาที่เค้าจะเริ่มทำ design ทุกคนก็ต้องกลับมาถามตัวเอง ต้องขุด identity ออกมาให้ได้ แล้วก็ present ออกมา presentation ถึงได้สำคัญมากในโลกยุคใหม่ ดังนั้นเราจึงคิดว่า service อันแรกของเราคือ งาน design

แต่จริงๆแล้วที่เห็นได้จากงานของอ.โจ้ มันไม่ได้เฉพาะเรื่องงาน design กว่าจะ design ออกมาได้ บางทีต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย เพราะฉะนั้นเราถึงได้บอกว่าผลิตภัณฑ์ของเรา คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ งานมันมีสองลักษณะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ แล้วก็ออกแบบ  เพราะถ้าออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างเดียว มันก็แค่ packaging  แต่ว่าอ.โจ้ ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเยอะมาก ทำเรื่องงานวิจัยเรื่องการพัฒนาสินค้า เพราะฉะนั้น เค้าจะมีองค์ความรู้ มี know how มี resource ที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายผลิตภัณฑ์ เยอะมากในมือของเค้า เพราะงั้น นี่คือ service อันแรกของ รอยัลสวัสดี เพราะเรามีความเชี่ยวชาญ มีความปรารถนาที่จะทำให้สินค้าไทยโดยรวมหน้าตาดี สวยงาม เพราะเราเชื่อว่าสินค้าไทยคุณภาพดีและอร่อยกว่าหลายๆชาติ

สิ่งที่เป็น passion เลยก็คือว่า ทำยังไงให้สินค้าไทยมีคุณค่ามากขึ้น อย่างญี่ปุ่นนี่สวยทุกชิ้น ขนาดซื้อข้างทาง อะไรทุกอย่างสวยทั้งนั้น เค้าพิถีพิถันกับเรื่องการพัฒนาตัวนี้  จริงๆของข้างในไม่เท่าไร แต่เพราะว่า packaging design มันทำให้ดูดี ดูแพง ดูมีคุณค่า เพราะที่สำคัญในการขายในโลกยุคใหม่ คือต้องขายคุณค่า แล้วก็หน้าตาของมันพอสมควร แล้วถ้ามีเรื่องราว ก็ยิ่งดี แต่ละที่มันก็จะมีเรื่องราวของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นเราก็อยากทำให้ รอยัลสวัสดี มันทำหน้าที่นี้ คือทำให้สินค้าไทยมีคุณค่ามากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าพื้นถิ่นของชาวบ้าน
นี่คือความตั้งใจของเรา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในแบรนด์รอยัลสวัสดีหรือไม่ก็ตาม เราก็อยากแปลงโฉมให้ทั้งหมดออกมาเป็นสิ่งที่ high value
Q: รอยัลสวัสดีเปิดตัวด้วยผลิตภัณฑ์ขนมและสปา มีแรงจูงใจยังไง ถึงคิดจะทำผลิตภัณฑ์ในหมวด life style ด้วยคะ
A: มันเป็นความตั้งใจอยู่แล้วที่เรามองเห็นว่า มันไม่ค่อยมีสินค้าที่มีเอกลักษณ์ไทยที่มันโดดเด่น เราจึงมีความตั้งใจตั้งแต่แรกเลยว่า เราอยากจะพัฒนาสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็นขนม ไม่ว่าจะเป็นสปา ไม่ว่าจะเป็นสินค้า life style product หรือของแต่งบ้าน หรืออะไรก็ตาม คือเรามองเห็นคุณค่าของสินค้าเราเอง สินค้าไทย อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เราคิดว่าถ้านำมันมาพัฒนาต่อยอดอีกหน่อย รวมทั้งขาย identity และ design แล้วก็บอกเล่าเรื่องราว 
 
เราคือ PMG ก็อยากจะทำอันนี้ เพราะด้านหนึ่ง เรามองว่าเราก็ช่วยพัฒนา SME และ OTOP อีกด้านหนึ่งก็คือว่า ถ้าอันไหนเป็น best selected ที่เราคิดว่ามันเป็นสินค้าที่ตรงกับ concept ของเรา เราก็จะทำการพัฒนาในแบรนด์ของรอยัลสวัสดี  เพราะฉะนั้น เราถึงแสวงหาว่าใครที่จะสามารถร่วมงานกับ PMG ได้ พอเจอ อ.โจ้ เราก็พบว่า เขามี profile ที่ทำงานแบบนี้ได้ แล้วก็มีความรัก มี passion เห็นได้จากการที่เขาทำมายาวนานเป็นสิบปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพัฒนาสินค้า พัฒนาชุมชน จากอัมพวาธรรมดากลายเป็น อัมพวาที่มันมีเรื่องราว มี story อันนี้คือสิ่งที่เราสนใจ ที่เขามองเห็นถึงคุณค่าตรงนี้ เราก็เลยจะร่วมกัน เพื่อที่จะเอามาพัฒนา ต่อยอดให้เมืองไทยเป็นอย่างนี้อีกเยอะ ไม่ใช่แต่แค่อัมพวา อาจจะเป็นทั่วประเทศไทย
 
Q: PMG ทำงานด้านสื่อมาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ทำไมถึงขยายธุรกิจมาทำ Royal Sawasdee ซึ่งเป็นงานพัฒนาสินค้าและการสร้างแบรนด์สินค้าไทย
Q: PMG พัฒนาความคิดมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว หนึ่งคือ เราทำรายการทีวี เราทำนิตยสาร ทำสื่อ website นั่นเป็นเรื่องขององค์ความรู้ แต่เราเริ่มทำ business matching คือทำให้คนพบกัน เกิดการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยง ในขณะเดียวกัน เราก็ทำโรงเรียน หลังจากที่เราทำสื่อ ทำการให้ความรู้ เราก็พบว่า คนขาด know how เค้าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง เพราะฉะนั้นเราถึงได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ นั่นก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่เรารวบรวมคนเก่งๆ คนที่สอนเก่ง และประสบความสำเร็จแล้วในอาชีพ ไม่ว่าจะ ขายข้าวมันไก่ ขายข้าวหน้าเป็ด ทำกาแฟขาย ทำซาลาเปาขาย เราก็ไปเอาคนเก่งๆมาสร้างหลักสูตร แล้วมาสอนคน เพราะฉะนั้น เราก็พัฒนาความคิดต่อเนื่องมาเรื่อยๆอยู่แล้ว หลังจากนั้น เราก็ทำเรื่อง digital marketing ที่จะเป็นการให้ความรู้ แล้วก็ทำการตลาด เพราะเราพบว่า SME ส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการสื่อสารโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ เพราะฉะนั้นเราจึงคิดว่า digital marketing มันเป็น solution สำหรับ SME และสำหรับหลายๆองค์กร เราก็ทำตัวนี้มา

 

เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในใจ คิดมานานละ ว่าควรจะทำให้มันครบ loop คือเราโตไปกับ SME  เราเรียนรู้ว่า SME แต่ละช่วงมีปัญหาอะไร เมื่อเราเรียนรู้ว่า SME มีปัญหาเรื่องหน้าตา เรื่อง design จากการที่เราสัมผัส เวลาเขามาออกทีวี หรือเวลาเราไปงาน ไปเห็นสินค้าชุมชน สินค้าส่วนใหญ่จะไม่สวยงาม อาจจะมีสวยงามอยู่จำนวนไม่มากที่ go inter ได้ พวกนั้นมีจำนวนน้อยมากเลย ที่ไปถึงตรงนั้นได้ ทีนี้เรามองว่าฐาน mass มีอีกเยอะเลยที่ต้องการการพัฒนา

เพราะฉะนั้น เราถึงมองว่า จริงๆแล้ว เราต้องมองหาผู้เชี่ยวชาญ เพราะเราเองไม่มีบุคลากรภายในที่จะทำตรงนี้ได้ ถึงได้เสาะหาว่าจะมีใคร เพราะฉะนั้นก็มีคนที่แนะนำเราว่า อ.โจ้เค้าเก่ง

สินค้า OTOP จริงๆแล้วทุกชิ้นก็สวยอยู่แล้ว เพียงแต่มันไม่ได้มีการ mix and match แล้วก็อาจจะต้องเอามา presentation ใหม่ เพื่อทำให้คนเห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจน ว่าเวลาที่มันอยู่ในบ้านเรา จะนำมันไปวางยังไงบ้าง บางอันก็อาจจะต้อง design เพิ่ม ซึ่งอันนี้มันเป็น project ต่อไปที่ทางเรากำลังเริ่มที่จะคิดเรื่องนี้ และคิดว่าคงจะร่วมกับทางกรมพัฒนาชุมชนในการนำเสนอเรื่องของ NEO OTOP

Q: ทำไมถึงมาจับสินค้า OTOP คะ

A: ที่เราอยากพัฒนาสินค้า OTOP ก็เพราะอยากช่วยชาวบ้าน พวกเขาไม่มีช่องทางการขาย ยังไม่สามารถขายของที่ high value ได้ ทุกคนจะไปซื้อสินค้า OTOP แล้วเอาไว้ใส่ในวาระพิเศษ เช่น เราอยากช่วย เลยไปซื้อมา แต่เอามาใส่ทุกวันไม่ได้ เพราะว่ามันไม่กลมกลืน มันไม่เป็นตัวเรา มันไม่เข้ากับรสนิยมของเรา เพราะฉะนั้น เราก็เลยคิดว่า การที่เราเป็นนักออกแบบ เรามีความเข้าใจในพฤติกรรมของคนเมือง หรือว่าคนชนชั้นกลาง เราก็เลยคิดว่าแบบไหน อย่างไร ที่เอาเข้ามาแล้ว มันจะทำให้เขาใช้ได้มากขึ้น ใช้ได้บ่อยขึ้น ใช้ได้แบบ daily use มากขึ้น อันนี้คือโจทย์

เป้าหมายคือคนรุ่นใหม่ อันนี้เป็นตลาดใหญ่ที่เรามองอยู่ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า เขาใส่ไม่ได้ เพราะมันเยอะไป ภาษา design สมัยนี้ต้องบอกว่า มันต้องลดรูป ให้มันอย่าเยอะเกินไป เช่นถ้าเป็นเสื้อผ้า ก็ต้องดูว่าทำยังไงให้มันพอดีๆ แล้วดูดี ไม่ดูเชย ไม่ใช่ว่าใส่สินค้า OTOP แล้วแก่เท่ากันหมด แต่เราต้องการให้ทุกคนใส่ ใส่แล้วดูดี ดูเท่ห์ ดูเป็นคนมีรสนิยม เป็นคนมีศิลปะไทย เป็นคนน่ายกย่องนะว่า มีรสนิยม แล้วก็ตระหนักถึงคุณค่าสินค้าไทย แล้วก็สวยด้วย เราต้องการอย่างนั้น นั่นคือเป้าหมายสูงสุดที่เราอยากให้ทุกคนใช้

สินค้าไทย จะเป็น OTOP หรือไม่ก็ได้ เป็นสินค้าที่เป็นพื้นถิ่น เอามาใช้แล้วถูกกับเขา ไม่ใช่เอามาใช้เพราะเป็น flight บังคับ จะแต่งชุดไทยก็ต้องเป็น occasion ไม่สามารถจะใช้ได้ในชีวิตประจำวัน แต่เราอยากให้เรื่องนี้มันใช้ได้เป็น daily use แล้วนี่แหละมันทำให้เป็นทางออกของสินค้าชาวบ้าน

เราอยากมีส่วนร่วมในการลงไปพัฒนา เพราะถ้าสินค้าที่เราได้รับความร่วมมือในการพัฒนา อย่างเช่น ในกรณีของสปา ถ้ามันเป็นข้าว เป็นสินค้าที่มาจากท้องถิ่นไหน เราก็อยากจะลงไปช่วยพัฒนาแล้วยกระดับคุณภาพของการผลิต หรือว่ามาตรฐานงาน design ซึ่งอันนี้เรามองว่าจุดอะไรที่ชาวบ้านขาด เรามองว่าคืองาน design ซึ่งอันนี้ต้องลงไปช่วยกันเยอะๆ เราคนเดียวคงทำไม่ไหว designer ทั้งประเทศควรต้องลงไปจับงานนี้

เราต้องคิดว่าเราต้องลงไปทำงานร่วมกับชุมชน แล้วก็ช่วยกันพัฒนา เราไม่ต้องการกดราคาสินค้าชาวบ้าน ชาวบ้านอาจต้องการขายที่ราคาตลาด แล้วเราเอามาพัฒนาให้มัน high value ขึ้น

ด้านหนึ่งเราต้องหา know how ที่ทำให้เขาผลิตได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาเราบอกว่าสินค้าต้องไปตลาดโลก เวลาเขาสั่งมา ชาวบ้านทำไม่ได้ ทำได้ปีหนึ่งไม่กี่ผืน อย่างนี้ เราอาจต้องไปดูวิถีการผลิต เราเคารพวิถีชีวิตนะ แต่เราก็อาจต้องไปดูว่าจะเพิ่ม productivity ได้อย่างไรด้วย